การพัฒนาระยะก่อนการพัฒนา(Pre-Training)
การพัฒนาระยะก่อนการพัฒนา(Pre-Training)
การพัฒนาระยะก่อนการพัฒนา(Pre-Training) เป็นการพัฒนาศึกษานิเทศก์ด้วยระบบ online ผ่านเว็บไซต์ sv1.esdc.go.th โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าการพัฒนาได้ศึกษาเอกสารความรู้ ก่อนเข้ารับการอบรมในระยะระหว่างการพัฒนา (On-site Training) ทั้งนี้ระยะก่อนการพัฒนา มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับระยะระหว่างการพัฒนา ประกอบด้วย จรรยาบรรณวิชาชีพ และศาสตร์และศิลป์ในการนิเทศการศึกษา โดยศึกษานิเทศก์ที่เข้ารับการพัฒนาต้องทำกิจกรรมตามคำแนะนำ ผ่านเว็บไซต์ sv1.esdc.go.th ส่งตามระบบตามเวลาที่กำหนด และต้องผ่านการทำกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนด ก่อนเข้ารับการพัฒนาระยะที่ 2 ระหว่างการพัฒนา (On-site Training) และ ระยะหลังการพัฒนา (Post-Training) ต่อไป
มาตรฐานความรู้ และประสบการวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่ คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาวิชาชีพ
2. การนิเทศการศึกษา
3. แผนและกิจกรรมการนิเทศ
4. การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
5. การวิจัยทางการศึกษา
6. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
7. การประกันคุณภาพการศึกษา
8. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ
(ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่ไม่น้อยกว่าห้าปี หรือมีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษารวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
2. มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่
มาตรฐานการปฏิบัติตนของศึกษานิเทศก์ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตน ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทัน ต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
6. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
7. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
9. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์
ผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนาการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา อย่างสม่ำเสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการศึกษา โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้รับการนิเทศ
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้รับการนิเทศให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพเต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการนิเทศให้มีคุณภาพสูง สามารถปฏิบัติ ให้เกิดผลได้จริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการนิเทศการศึกษาโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้รับการนิเทศ
มาตรฐานที่ 7 ดำเนินการและรายงานผลการนิเทศการศึกษาให้มีคุณภาพสูงได้อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มาตรฐานที่ 9 ร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการ
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนางานได้ทุกสถานการณ์
จรรยาบรรณของวิชาชีพของศึกษานิเทศก์ หมายถึง มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมา ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ดังนี้ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ 1 ศึกษานิเทศก์ ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
ข้อ 2 ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ 3 ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ข้อ 4 ศึกษานิเทศก์ ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อ 5 ศึกษานิเทศก์ ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
ข้อ 6 ศึกษานิเทศก์ ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
ข้อ 7 ศึกษานิเทศก์ ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
ข้อ 8 ศึกษานิเทศก์ พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
ข้อ 9 ศึกษานิเทศก์ พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ ต้องมีการบูรณาการงานทั้ง 3 ด้าน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน ดังนี้
1. ด้านการนิเทศการศึกษา
1.1 ออกแบบ จัดทำแผนการนิเทศการศึกษา ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มาตรฐานการศึกษาชาติและหลักสูตร รวมทั้งนโยบาย จุดเน้น สภาพแวดล้อม ปัญหาและความต้องการจำเป็น ให้ครู สถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา สามารถจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
1.2 คัดสรร สร้าง พัฒนา สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์วิจัย หรือวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา เพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูสถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุผล
1.3 นิเทศ ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะ เป็นพี่เลี้ยง ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนางานวิซาการประสานงานกับหน่วยงาน สถานประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาให้ครู สถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุผล
1.4 รายงานผลการนิเทศ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนผลการนิเทศต่อครู สถานศึกษาหน่วยงาน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนางานวิซาการ และการจัดการศึกษาที่เกิดผลสัมฤทธิ์สูง
2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
2.1 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและความต้องการจำเป็น สังเคราะห์สารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อวางแผนการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการศึกษา
2.2 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร และสถานประกอบการ รวมถึงภูมิปัญญาหรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา
2.3 ติดตามประเมินผลการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษา ให้สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุผลตามพันธกิจ
3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพศึกษานิเทศก์ และความรอบรู้ในเนื้อหาที่นิเทศให้สูงขึ้น
3.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ที่มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน
มาตรฐานการปฏิบัติงานของกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา คือ กรอบแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ดำเนินการเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา วิเคราะห์วิจัย ติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานเท่าเทียมกันโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน ส่งผลให้ผู้เรียนทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการศึกษา มีกรอบงาน ดังนี้
1. งานธุรการ มีแนวการปฏิบัติงาน ดังนี้
1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและการบริหารงานของกลุ่ม ให้สามารถดำเนินงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ สภาพของกลุ่ม และออกแบบ ระบบงานสารบรรณให้เหมาะสม และสอดคล้องกับ ระบบงานสารบรรณของส่านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1.3 ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมภายในกลุ่ม
1.4 ประสานงานกับกลุ่มอื่นในสำนักงาน หน่วยงานและสถานศึกษาในงานธุรการ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของกลุ่ม
1.5 ประสานการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและผลงานของกลุ่ม ให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไปทราบ
1.6 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม
2. กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ มีแนวการปฏิบัติงาน ดังนี้
2.1 งานส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การศึกษาพิเศษ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ
2.2 งานส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3 งานศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์วิจัย การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
3. กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา มีแนวการปฏิบัติงาน ดังนี้
3.1 งานส่งเสริมการวัดและประเมินผลการศึกษา
3.2 งานส่งเสริมและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา
3.3 งานติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการวัดและประเมินผลการศึกษา
3.4 งานทดสอบทางการศึกษา
4. กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา มีแนวการปฏิบัติงาน ดังนี้
4.1 งานส่งเสริม พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
4.2 งานศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์วิจัย การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
5. กลุ่มงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา มีแนวการปฏิบัติงาน ดังนี้
5.1 งานส่งเสริมและพัฒนาระบบการนิเทศและการจัดกระบวนการเรียนรู้
5.2 งานส่งเสริมสนับสนุน เครือข่ายการนิเทศของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชน
5.3 งานนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารและการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
5.4 งานศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์วิจัยการพัฒนาระบบบริหารและการจัดการศึกษา
6. กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีแนวการปฏิบัติงาน ดังนี้
6.1 งานส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
6.2 งานตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา
6.3 งานส่งเสริมและประลานงานการประกันคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา
6.4 งานศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
7. กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา มีแนวการปฏิบัติงาน ดังนี้
7.1 งานพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ
7.2 งานวางแผนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา
7.3 งานรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา
นโยบายการศึกษา เป็นแนวทางการปฏิบัติให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนำนโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภาและนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ผู้เรียนและประชาชนทุกคน ดังนั้นเพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567–2568
1. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.1 พัฒนาวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง โอน ย้ายของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในภูมิลำเนา ที่ตรงกับความประสงค์ของตนเอง เน้นพิจารณาด้วยความโปร่งใสและไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน
1.3 แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
1.4 จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสม
2. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
2.1 เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ "ยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง" มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
2.2 จัดให้มีโรงเรียนคุณภาพ 1 โรงเรียน ต่อ 1 อำเภอ
2.3 พัฒนาระบบการแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิตให้เป็นรูปธรรม
2.4 การจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ
2.5 การจัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา และประเมินผลการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนในระบบ ประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่าย
2.6 ผู้เรียนเรียนรู้และมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn)
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2568
1) ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติและน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ
2) จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรมและประชาธิปไตย
3) ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
4) ส่งเสริมการอ่านเพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
5) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6) จัดการศึกษาแบบเรียนรวม
7) จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
8) เสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา
9) เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
10) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1.ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
1.2 การแก้ปัญหาหนี้สินครู
1.3 การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
1.4 ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา
1.5 สร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต
1.6 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร
2.ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
2.1 การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา(Any where Any time) ด้วยเทคโนโลยี
2.2 สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ(Coaching)และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต
2.3 ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต(Credit Bank)
2.4 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ
2.5 เสริมสร้างทักษะอาชีพ และการมีรายได้ระหว่างเรียน
แผนนิเทศการศึกษา เป็นแนวทางในการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และสนับสนุนการตรวจราชการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบาย จุดเน้น ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือคุณภาพของการศึกทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ
ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน
สภาพปัจจุบันและปัญหา
ส่วนที่ 2 ทิศทางการพัฒนา
เป้าหมายในการพัฒนา
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนที่ 3 กิจกรรมการนิเทศ
กิจกรรมการนิเทศ
กลุ่มเป้าหมาย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีดำเนินงาน
สื่อ/เครื่องมือการนิเทศ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
ความภูมิใจในทำงาน เป็นความรู้สึกร่วมรวมของบุคคลในทางบวกและได้รับผลตอบแทน คือผลที่เป็นความภูมิใจในงาน ที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นที่จะทำงาน มีขวัญและกำลังใจ จะทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และส่งผลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายของงาน
ข้าพเจ้าดำรงตนเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ๆ มาใช้พัฒนางาน ปฏิบัติตนเพื่อเป็นผู้นำทางวิชาการ โดยเฉพาะในบทบาทของศึกษานิเทศก์ โดยการกำหนดทิศทางและเป้าหมายร่วมกันให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้ที่รักษาชื่อเสียงของตน และเกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มิให้เสื่อมเสียอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ไม่เคยทำผิดไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างผู้อื่นจนเป็นที่ยอมรับ ปฏิบัติงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ อันจะมีผลกระทบต่อชื่อเสียงและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพศึกษานิเทศก์ของตนเองและเพื่อนร่วมงาน ปฏิบัติตนตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพศึกษานิเทศก์ตลอดระยะเวลาการเป็นศึกษานิเทศก์ด้วยความภาคภูมิใจในวิชาชีพ มีส่วนเสริมสร้างในการปลูกจิตสำนึกที่ดี แก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม ร่วมกิจกรรมเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดี แก่ผู้เรียน ชุมชน และสังคม ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนและหน่วยงานอื่นจัดขึ้น ประพฤติและปฏิบัติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงามของสังคม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้รับบริการ ชุมชน และสังคม
ประพฤติปฏิบัติ มุ่งมั่นตั้งใจ เอาใจใส่ ในการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการแสวงหาความรู้ให้แก่ โรงเรียน ผู้บริหาร ครู นักเรียน ตลอดจนผู้รับบริการต่างๆ โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หรือหวังผลตอบแทน จนทำให้เกิดผลดีต่องานในหน้าที่ มีผลงานปรากฏอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยกย่องนอกจากนั้นยังได้เผยแพร่ผลงานที่ปรากฏต่อสาธารณะชนอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเต็มความสามารถเพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ โดยการจัดอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำเอกสารการนิเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมของวิชาชีพอย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้รับการยอมรับ และได้รับคำชมเชย จากเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคคลทั่วไป อยู่เสมอ ปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือแก่ส่วนรวมอย่างทุ่มเทเสียสละ จนเกิดผลสำเร็จเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ความก้าวหน้าในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ เป็นการพัฒนาศึกษานิเทศก์ตามมาตรฐานวิชาชีพและข้อตกลงการพัฒนางาน (PA) เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยาฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ และศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ โดยมีการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา พิจารณาจาก
รายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา ในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งผู้ขอได้พัฒนาขึ้นและนำไปใช้ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษาจริงในช่วงที่ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หรือดำรงวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ แล้วแต่กรณี
การนำเสนอการพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษาที่เสนอในข้อ 1 โดยแสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจ ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรม ซึ่งสะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศหรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ทั้งนี้ ให้นำเสนอเป็นไฟล์วีดิทัศน์ตามรูปแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 ไฟล์
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาการศึกษา พิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติของผู้รับการนิเทศ ที่สะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา หรือผลการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนที่เสนอไว้ในด้านที่ 1 โดยให้นำเสนอเป็นไฟล์วีดิทัศน์ตามรูปแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 ไฟล์
ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ สำหรับคำขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ และวิทยฐานะศึกษานิเทศก็เชี่ยวชาญพิเศษ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา หรือนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน จำนวน 1 รายการ ในรูปแบบไฟล์ PDF
วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา และนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน จำนวนอย่างละ 1 รายการในรูปแบบไฟล์ PDF โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยหรือ Thai - Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่ม 3 หรือ กลุ่ม 2 โดยให้ส่งบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบไฟล์ PDF ด้วย
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการที่ผู้ขอเสนอ ต้องเป็นผลงานในช่วงที่ดำรงตำแหน่งและวิทยฐานะารงอยู่ ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 4 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่กรณี ตามเงื่อนไขการลดระยะเวลาในการดำรงวิทยฐานะของผู้ขอเถื่อนวิทยฐานะ นับถึงวันที่ยื่นคำขอ และต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือเป็นผลงานทางวิซาการที่เคยใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะมาแล้ว
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 หมวดที่ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ กำหนดสาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ตามมาตรฐานความรู้ ดังนี้
1) การพัฒนาวิชาชีพ
1. สร้างศรัทธาผู้รับการนิเทศเพื่อให้ตระหนักและมองเห็นประโยชน์ของการนิเทศ
2. สร้างความก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
2) การนิเทศการศึกษา
1. ใช้เทคนิคการนิเทศอย่างหลากหลายด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
2. สร้างวัฒนธรรมในการพัฒนางานวิชาการ และนำสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
3) แผนและกิจกรรมการนิเทศ
1. สามารถวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาแผนการนิเทศที่นำสู่การปฏิบัติได้จริง
2. ประเมินและปรับปรุงแผนการนิเทศ
4) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
1. สร้าง ใช้ ประเมิน และปรับปรุงหลักสูตร
2. นิเทศเพื่อพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล
5) การวิจัยทางการศึกษา
1. สามารถดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
6) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. ประยุกต์ใช้ และการประเมินสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
2. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
7) การประกันคุณภาพการศึกษา
1. สามารถบริหารจัดการการศึกษา
2. นำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้เพื่อ พัฒนาสถานศึกษา
8) คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ
1. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสำนึกสาธารณะและเสียสละให้สังคม
2. ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
กระบวนการนิเทศแบบ PDCA เป็นการนำวงจรเดมมิง (Demming Circle) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า กระบวนการ PDCA มาใช้เป็นกระบวนการนิเทศการศึกษา มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. การวางแผน (P-Plan)
2. การปฏิบัติตามแผน (D-Do)
3. การตรวจสอบ/ประเมินผล (C-Check)
4. การปรับปรุงแก้ไข (A-Act)
กระบวนการ PDCA แต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้
1. การวางแผน (P-Plan)
1.1 การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ
1.2 การกำหนดจุดพัฒนาการนิเทศ
1.3 การจัดทำแผนการนิเทศ
1.4 การจัดทำโครงการนิเทศ
2. การปฏิบัติงานตามแผน (D-Do)
2.1 การปฏิบัติตามขั้นตอนตามแผน/โครงการ
2.2 การกำกับติดตาม
2.3 การควบคุมคุณภาพ
2.4 การรายงานความก้าวหน้า
2.5 การประเมินความสำเร็จเป็นระยะ ๆ
3. การตรวจสอบและประเมินผล (C-Check)
3.1 กำหนดกรอบการประเมิน
3.2 จัดหา/สร้างเครื่องมือประเมิน
3.3 เก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 วิเคราะห์ข้อมูล
3.5 สรุปผลการประเมิน
4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (A-Act)
4.1 จัดทำรายงานผลการนิเทศ
4.2 นำเสนอผลการนิเทศและเผยแพร่
4.3 พัฒนาต่อเนื่อง